Categories
Main

อวนสามชั้น

อวนสามชั้น หรืออวนกุ้ง เป็นอวนที่ประกอบอวนสามชั้น โดยชั้นตรงกลางจะเป็นอวนตาถี่ขนาด 3.8 ซม – 4.5ซม. ความลึกมาตราฐาน ที่ 50ตา ส่วนอวนชั้นนอกทั้งสองข้าง จะขนาดเท่ากันที่ 14ซม ลึก 10-12.5ตา

ลักษณะการใช้งาน จะเป็นการไปลอยในน้ำ ที่มีกระแสน้ำไหล โดยอวนจะโดนถ่วงด้วยตะกั่ว และดึงให้ตั้งขึ้นโดยทุ่น ที่สำคัญอวนข้างตะกั่วจะจมลงไปแตะผิวดิน ซึ่งสัตว์น้ำเป้าหมายจะอยู่บริเวณนั้น

ส่วนอวนกุ้งในประเทศไทยนั้นจะมีตาปะทังไว้ด้วย เผื่อชะลอให้อวนขาดช้าลง

จากภาพด้านบน และงานวิจัยในประเทศ พบว่าการใช้งานของอวน ไม่เกี่ยวกับสภาพความลีกพื้นที่จับสัตว์น้ำ ดังนั้นอวนสามชั้นจึงทำความลึกมาเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว การเลือกใช้ ไม่ต้องคำนึงถังความลึกของอวน ใช้เลือกตามขนาดตาอวนชั้นในแต่เพียงอย่างเดียวครับ

Categories
Main

เงื่อนอวนกุ้ง

เงื่อนตาอวน ที่มีการใช้กัน สำหรับทออวน ปกติจะมีใช้กัน ได้แก่

-เงื่อนหักคอชั้นเดียว (single Knot) เป็นเงื่อนส่วนใหญ่ในการทออวน ลักษณะเงื่อนเป็นดังรูป

-เงื่อนหักคอสองชั้น (Double Knot) เป็นเงื่อนที่เพิ่มความแน่ให้ตาอวนยิ่งขึ้น ส่วนมากจะให้กับการทออวนเอ็น

ส่วนการผูกอวนสามชั้น (อวนกุ้ง) จะใช้เงื่อนหักคอสองชั้น

เพจอวนกุ้ง ปิยะวัฒน์

Categories
Main

ราคากุ้งตก (มีนาคม2563)

จากที่ก่อนหน้านี้เราเริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มผึดมาสักระยะแล้ว และเมื่อมีปัญหาเรื่อง โควิด19 เป็นสาเหตุให้แต่ละประเทศต้องปิดล๊อกประเทศกันไปตามๆกัน เมื่อมีการปิดประเทศ การส่งออกกุ้งก็โดนผลกระทบไปด้วย ทำให้ปริมาณกุ้งในประเทศล้น ราคาจึงตกลง ถึงแม้ว่ากุ้งที่ประเทศไทยส่งออกจะเป็นกุ้งเลี้ยง แต่เนื่องจากกุ้งแต่ละชนิดจะเป็นสินค้าทดแทนกัน ทำให้กุ้งทะเลที่ชาวประมงจับ ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

นอกจากการส่งออกไม่ได้แล้ว ความต้องการในประเทศก็ยังลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวลดลง และการระบาดในประเทศรุนแรงขึ้น จนต้องสั่งปิดห้าง ปิดร้านอาหาร และประชาชนไม่อยู่ในอารมณ์จับจ่ายใช้สอย ยิ่งเป็นผลให้ความต้องการลดต่ำลง จึงกระทบต่อราคากุ้ง

แต่เนื่องจากอาหารถือว่าเป็นสินค้าจำเป็น อีกทั้งการที่ราคาตกจึงทำให้การเลี้ยงกุ้งลดลงมาก และที่สำคัญการระบาดของ โควิด19 นี้ถึงแม้ว่าจะหนักหนาแค่ไหนก็ตาม อย่างไรเสีย ปัญหานี้ก็จะต้องแก้ไขได้ และเมื่อปัญหาจบ ความต้องการกุ้งก็จะกลับมาดีเช่นเดิม รวมทั้งปริมาณกุ้งเลี้ยงช่วงแรกจะกลับมาไม่ทัน จะทำให้ราคากุ้งกลับมาดีได้อย่างรวดเร็ว

ท้ายที่สุดนี้ ขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพ และผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ครับ

Categories
Main

ภาวะโลกร้อน กับการทำประมง

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในมหาสมุทรและการทำประมงมากเกินไป อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณสารโลหะพิษในสัตว์ทะเลเพิ่มขึ้น เช่น ปลาคอด ปลาทูน่า ปลาแซลมอน 

ทีมนักวิจัยศึกษาข้อมูลระบบนิเวศในอ่าวเมน (Gulf of Maine) ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1970-2000 พบว่าในรอบ 30 ปี มีสารปรอทสะสมในปลาคอดและปลาฉลามหลังหนามเพิ่มขึ้น

เนื่องจากในบริเวณนั้นมีการทำประมงมากเกินขนาด ส่งผลให้ปลาทั้งสองชนิดต้องปรับเปลี่ยนวิถีการหาอาหารใหม่ โดยปลาคอดเปลี่ยนไปหาล็อบสเตอร์และปลาเล็กๆ เป็นอาหาร ส่วนปลาฉลามหลังหนามเปลี่ยนไปกินสัตว์ตระกูลหมึกที่มีสารปรอทสะสมสูงกว่า 

คณะนักวิจัยพยายามใช้แบบโมเดลกับปลาทูน่าครีบน้ำเงินในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยหวังหาว่าเพราะเหตุใดปลาทูน่าครีบน้ำเงินจึงมีสารปรอทสะสมมากขึ้น ทั้งที่พวกมันไม่ได้ปรับเปลี่ยนชนิดของเหยื่อที่กิน ขณะที่สารปรอทในมหาสมุทรดังกล่าวก็มีปริมาณลดลงด้วย

ดร.อมินา ชาร์ตอัพ หนึ่งในทีมนักวิจัย ได้สัมภาษณ์ ไมเคิล เฟลป์ส นักกีฬาว่ายน้ำเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก ซึ่งเฟลป์สเผยว่าเขาบริโภคอาหารในแต่ละวันคิดเป็นพลังงานแคลอรีมากกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า ซึ่งทำให้ชาร์ตอัพตั้งสมมติฐานว่าอาจมีบางสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างเฟลป์สกับปลาทูน่า ซึ่งนำไปสู่คำอธิบายว่าทำไมปลาทูน่าจึงมีสารปรอทสะสมอยู่มาก 

เมื่ออุณหภูมิในมหาสมุทรสูงขึ้นจะทำให้ปลาต้องว่ายมากขึ้น ดังนั้นพวกมันจึงต้องการพลังงานมากขึ้นในการว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหว ซึ่งผลคือปลาทูน่าก็จะต้องกินอาหารเพิ่มขึ้น นั่นจึงสามารถไขคำตอบได้ว่าเหตุใดปลาทูน่าจึงมีสารปรอทสะสมมากขึ้น

โดยในช่วงปี 2012-2017 พบว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินในอ่าวเมนมีระดับสารเมทิลเมอร์คิวรีหรือสารปรอทพิษเพิ่มขึ้น 3.5% ต่อปี ทั้งที่การปล่อยสารปรอทสู่ธรรมชาติลดลง

ทั้งนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าการเผาไหม้ถ่านหินในสหรัฐอเมริกาคือแหล่งปล่อยสารปรอทอันดับต้นๆ เพราะการเผาจะปล่อยสารปรอทสู่อากาศ ก่อนจะตกลงมาสู่พื้นดินและผิวน้ำ 

รายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่าปัจจุบันมนุษย์บริโภคปลาเฉลี่ยอยู่ที่ 20.2 กิโลกรัมต่อคน เพิ่มขึ้นจากทศวรรษที่ 1960 ถึง 2 เท่า และ 1 ใน 3 ของพื้นที่มหาสมุทรบนโลกกำลังประสบปัญหาการจับปลามากเกินไป นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังรายงานว่าเด็ก 17 คนต่อ 1,000 คนจากชุมชนประมงในบราซิล แคนาดา จีน กรีนแลนด์ และโคลอมเบีย มีอาการบกพร่องทางจิตใจจากการบริโภคอาหารทะเลที่มีสารปรอทเจือปน

Categories
Main

Cutting Net

การตัดอวน (Cutting) ในการออกแบบอวนโดยเฉพาะอวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เนื้ออวนหลายชิ้นประกอบกัน แต่ละชิ้นก็มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องทราบถึง วิธีการตัดอวนเพื่อให้ได้ลักษณะของอวนตามที่ต้องการ ซึ่งในการตัดอวนนี้มีวิธีการตัดอยู่ 3 วิธี คือ

20.3.5.1 การตัดตา (Mesh cutting) เป็นการตัดครั้งหนึ่ง 2 ขา และสามารถเคลียร์ปมได้

20.3.5.2 การตัดปม (Point Cutting) เป็นการตัดครั้งหนึ่ง 2 ขา เมื่อเคลียร์ปม แล้วขาอวนจะขาดจากกัน

20.3.5.3 การตัดขา (Bar Cutting) เป็นการตัดครั้งละ 1 ขาอวน


รูปแบบในการตัดอวนเพื่อให้ได้เนื้ออวนที่มีลักษณะตามที่ต้องการมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

ก. การตัดปมผสมตัดขา (Point and bar cutting) การตัดแบบนี้จะไม่มีการตัดตาเลย

ข. การตัดตาผสมตัดขา (Mesh and bar cutting) การตัดแบบนี้จะไม่มีการตัดปมเลย


ฝากกดไลค์เพจเพจบุ๊คด้วยนะครับ

Categories
Main

Gill net

อวนติด gill net นับเป็นเครื่องมือทำประมงที่ออกแบบได้ง่ายที่สุด แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ อวนลอยผิวน้ำติด อวนลอยติด อวนล้อมติด และอวนจมติด

เครื่องมืออวนจมติด จะเป็นเครื่องมืออวนชนิดที่ปล่อยให้ลอยเรื่อยๆกับกระแสน้ำ และทำการยึดหรือผูกด้วยหลัก ทั้งสองด้าน เพื่อสกัดทางเดินของสัตว์น้ำ เช่น อวนจมปูม้า อวนกุ้ง

อวนสามชั้น Trammel net ในต่างประเทศ เช่นประเทศญี่ปุ่น จัดอยู่ในอวนติดจำพวกอวนจมติด อวนสามชั้นประกอบด้วยอวนผืนนอก 2ผืน และอวนผืนกลาง1ผืน ผืนนอกจะมีขนาดตาที่ใหญ่กว่า 4-5เท่า

อวนสามชั้นในประเทศไทย นิยมใช้ในการจับกุ้ง เนื้ออวนทำด้วยเส้นไนล่อน ชั้นกลางให้ขนาด 110d/2 ชั้นนอกใช้ขนาดด้าย 210d/4 ประกอบกันเป็นอวนสามชั้น อัตราย่นของอวนชั้นกลางประมาณ 52-54% ที่คร่าวบน และ 43-45% ที่คร่าวล่าง ส่วนอัตราย่นของอวนชั้นนอกจะอยู่ทีี 21-63%

การทำประมงอวนสามชั้นในไทย นอกจากใช้จับกุ้งแล้ว ยังมีใช้ในการจับปลาหมึกอีกด้วย อวนสามชั้นสามารถทำประมงได้ทั้งกลางวัน และกลางคืนอวนจะถูกปล่อยไปตามกระแสน้ำโดยมีทุ่นและธงเป็นเครื่องหมายถ้ากระแสน้ำแรงอาจจะใช้เวลาในการวางอวนน้อย

Categories
Main

Sinker ลูกถ่วง

ลูกถ่วงเป็นส่วนประกอบของอวน ทำหน้าที่เพิ่งแรงจมตัว ซึ่งจะตรงข้ามกับลูกกระสง ดังนั้นวัสดุที่นำมาทำลูกถ่วงจึงต้องเป็นวัสดุที่มีค่าความถ่วงจำเพาะสูง วัสดุที่นิยมทำมาทำลูกถ่วง ได้แก่ ตะกั่ว เหล็ก ก้อนหิน แท่งปูนเป็นต้น แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ ตะกั่ว โดยปกติการเลือกลูกถ่วงในการประมง พิจารณาดังนี้

1.มีแรงจมตัวมาก
2.แข็งแรงทนทาน
3.รูปร่างเหมาะสมผูกกับอวนได้ง่าย
4.ราคาถูก

ตะกั่วกาน่า 100ลูก/กก

สำหรับลูกถ่วงอวนกุ้ง จะใช้ตะกั่ว รูปทรงกาน่า ขนาดที่ใช้จะเป็นขนาด ลูกละ 10กรัม โดยอวนกุ้งของ ปิยะวัฒน์จะมาดตะกั่ว4ลูก แล้วเว้น1ลูก ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้ในประเทศไทย

ฝากกดไลค์เพจเฟสด้วยนะครับ

Categories
Main

Buoy and Float ทุ่นและลูกกระสง อวนกุ้ง

ลูกกระสงอวนกุ้ง จะทำจากพลาสติก โดยทำเป็นทรงตลับกลม เว้นรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกได้ ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 38มม ดังภาพ

ลูกกระสงอวนกุ้งปืยะวัฒน์

ทุ่นและลูกกระสงทำหน้าที่ในการพยุงตัว เครื่องมือในการทำประมง คงอยู่ได้หรือพยุงให้อยู่ในระดับความลึกที่ต้องการ ในการจับสัตว์น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วัสดุที่นำมาทำทุ่นหรือลูกกระสงนั้นมีมากมายหลายชนิด แต่เดิมนิยมทำจากธรรมชาติ เช่นไม้ไผ่ ใม้นุ่น เป็นต้นต่อมามีการประดิษฐ์ลูกกระสงจากวัสดุอื่น เช่นเหล็ก อลูมิเนียม แก้ว แต่ปัจุบัน นิยมใช้วัสดุที่ประดิษฐ์จากวัสดุสังเคราะห์ เช่นพลาสติก โฟมยางเป็นต้น 

การเลือกลูกกระสงมาใช้ในการประมงควรพิจารณา ดังนี้
1 ต้องมีแรงลอยตัวมาก
2 เมื่อได้รับแรงกดจากน้ำ แรงลอยตัวต้องไม่เปลี่ยนไปมาก
3 มีความคงทน ไม่แตกชำรุดง่าย ๆ
4 รูปร่างเหมาะสมกับเครื่องมือประมง ให้ยึดติดกับเครื่องมือได้ง่าย
5 หาได้ง่ายและราคาถูก

Categories
Main

Selvage

ตาปะทังอวนกุ้ง

ตาปะทังเป็นตาอวนที่อยู่บริเวณขอบของเนื้ออวน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่อวน เนื่องจากบริเวณขอบของเนื้ออวนเป็นบริเวณที่ได้รับแรงดึงจากสายคร่าวอวนโดยตรง จึงต้องรับแรงมากกว่าเนื้ออวน ดังนั้นขนาดของเส้นด้ายที่ใช้ทำตาปะทังจะมีขนาดใหญ่กว่าเส้นด้ายที่ใช้ทำเนื้ออวน หรืออาจทำโดยใช้จำนวนเส้นด้ายเพิ่มขึ้น โดยทั่วๆไปแล้วตาปะทังที่พบจะมี 3แบบ คือตาปะทังเดี่ยว ตาปะทังคู่ และตาปะทังตาคู่ ดังรูป

ที่มา Nomura,1977

ส่วนอวนกุ้งก็มีการทำตาปะทังเช่นกัน โดยใช้เส้นด้ายที่ใหญ่ขึ้นมาทำตาปะทัง ปัจจุบันนิยมใช้ด้ายโปลี ขนาด 200/6 ทำตาปะทังจำนวน 2ตา ตามแนวความลึก ประโยชน์นอกจากรับแรงดึงแล้ว ยังเป็นจุดทั้งเศษกรวดจะมากระทบ ทำให้ยืดอายุการใช้งานของอวนกุ้งได้ดี

Categories
Main

QC Trammelnet2

อวนกุ้ง หรืออวนสามชั้น ก่อนที่จะจำหน่ายทางบริษัท จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อให้ได้อวนกุ้งคุณภาพดีไปถึงมือลูกค้าทุกท่าน และอวนเสียประเภทหนึ่ง ที่พบได้บ่อย คืออวนตาตก ดังภาพตัวอย่าง ซึ่งหมายถึงการทำอวนข้ามตาห่าง หรือหนีบตาห่างเกิน การทำอวนสามชั้นที่ถูกต้องจะต้องเย็บไปพร้อมๆกันเป็นคู่ๆ ถ้าช่วงใด เย็บไม่พร้อมกันก็จะทำให้อวนตานอกที่ประกบ อวนตาใน เอียง เป็นผลให้ประสิทธิภาพอวนลดลง

ตัวอย่างอวนเย็บข้ามตา
ตัวอย่างอวนเย็บหนีบตาเกิน

ถ้าลูกค้าท่านใดเชื่อมั่น ไว้วางใจในคุณภาพ กรุณาช่วยนึกถึงอวนกุ้ง อวนสามชั้น ปิยะวัฒน์ ตราม้า ด้วยครับ และฝากติดตามในเพจเฟสฯด้วยครับ