
แนะนำสินค้า อวนกุ้งเนื้อ ลดราคา เลอะ ราคาถูก คุ้มค่า
สีอาจไม่สวยบ้าง แต่ไม่มีผลกับการใช้งาน
สินค้าไม่ได้มีตลอดนะครับ
ผ่านทาง shopee (มีเก็บปลายทาง)
สต๊อกแยกกันครับ
แนะนำสินค้า อวนกุ้งเนื้อ ลดราคา เลอะ ราคาถูก คุ้มค่า
สีอาจไม่สวยบ้าง แต่ไม่มีผลกับการใช้งาน
สินค้าไม่ได้มีตลอดนะครับ
ผ่านทาง shopee (มีเก็บปลายทาง)
สต๊อกแยกกันครับ
เนื่องจากอวนกุ้งจะนิยมผูกตาปะทัง เพื่อให้อวนทนทาน ขาดยากขึ้น โดยนิยมใช้ด้ายโปลีเอสเตอร์ ขนาด 200D/6 มาผูกเป็นตาปะทัง
สาเหตุที่ใช้ขนาด 200D/6 เนื่องจากการการเข้าสามชั้น จะเป็นการเย็บอวนตาใน และอวนตานอกเข้าด้วยกันเป็นอวนสามชั้น ด้วยด้ายโปลีเอสเอตร์ ดังนั้นขนาดของด้ายที่นำมาใช้ควรจะมีขนาดไม่ต่างจาก ขนาดของ อวนตาใน และตานอก ไปมากนัก ไม่เช่นนั้นแล้ว ด้ายจะมัดอวนไม่อยู่
200D/6 คือการนำเส้นใยขนาด 200D จำนวน 6 เส้นมาตีเป็นเกลียว รวมกันเป็น1เส้น
เชือกสำหรับมาดอวนกุ้ง เราจะใช้เชือก PE (Polyethylene) ขนาด 3-4 มม. โดยใช้ขนาด 3มม.สำหรับข้างตะกั่ว และขนาด 4มม. สำหรับข้างทุ่น
ส่วนเชือกปกติที่ใช้ในท้องตลาด จะตีเกลียวทางขวา เป็นเชือกที่หาได้โดยทั่วไป วิธีดูว่าเชือกเป็นเกลียวขวาหรือไม่ สามารถดูได้โดยตั้งเชือกในแนวตั้ง แล้วแนวเกลียวเชือกจะเอียงจากล่างซ้าย ไปสู่บนขวา ดังภาพ
ส่วนเชือกเกลียวซ้าย จะหาซื้อโดยทั่วไปได้ยาก เพราะเป็นสินค้าสั่งผลิต ใช้ในงานเฉพาะอย่าง ลักษณะเกลียวจะตรงข้ามกับเกลียวขวา สามารถดูได้โดยตั้งเชือกในแนวตั้ง แล้วแนวเกลียวเชือกจะเอียงจากล่างขวาไปบนซ้าย ดังภาพ
อวนสำเร็จของเราจะใช้เชือกทั้ง2เกลียวร่วมกันครับ
อวนสามชั้นสำเร็จของปิยะวัฒน์ จะมาดตะกั่ว แบบ4ลูกเว้น1ลูก ตามภาพ และใช้ตะกั่วทรงกาน่าขนาด 100ลูก/กิโลกรัม ส่วนเชือกมาดอวนทั้งบนล่างเราจะใช้เชือกเกรดเอ และใช้เชือกเส้นคู่ เกลียวซ้ายกับเกลียวขวา ทั้งข้างทุ่นและตะกั่ว ส่วนทุ่นตลับจะใช้สีเขียวระบุยี่ห้อ รูปม้าปิยะวัฒน์ ตามเครื่องหมายการค้าของร้านครับ
การมาดอวนสามชั้นสำเร็จรูป ของทางร้านจะทำตามแบบมาตรฐานเท่านั้น เนื่องจากเป็นงานที่ต้องให้เวลาและฝีมือในการมาด จึงต้องเป็นการมาดเอาไว้ก่อน และไม่รับสั่งทำตามแบบอื่นๆครับ
การเย็บอวนสามชั้น เป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญในการเย็บ จะเห็นได้ว่าการเย็บอวนช้นนอกทั้งสองข้างที่ประกบกันเป็นกำแพง ต้องเย็บไปเป็นคู่ๆและเย็บไปพร้อมกันตลอดทั้งแนวยาวของผืนอวน
การเย็บข้ามตาด้านใดด้านหนึ่งจะให้อวนชั้นนอกที่เป็นช่องๆ เลื่อมกัน ทำให้ช่องสำหรับดักสัตว์ไม่ตรงกันเป็นผลให้ประสิทธิภาพของอวนสามชั้นลดลง
การเย็บตานอกผิด พบได้ทั้งแบบหนีบ2ตาติดกัน หรือไม่ก็ข้ามตา ซึ่งมีผลเสียคล้ายๆกัน วิธีการซ่อมทำโดยการตัดด้ายตาประทัง จากริมอวนข้างสุดท้าย มาถึงจุดที่ผิด แล้วค่อยเข้าสามชั้นให้ถูกต้อง
อวนสามชั้น หรืออวนกุ้ง เป็นอวนที่ประกอบอวนสามชั้น โดยชั้นตรงกลางจะเป็นอวนตาถี่ขนาด 3.8 ซม – 4.5ซม. ความลึกมาตราฐาน ที่ 50ตา ส่วนอวนชั้นนอกทั้งสองข้าง จะขนาดเท่ากันที่ 14ซม ลึก 10-12.5ตา
ลักษณะการใช้งาน จะเป็นการไปลอยในน้ำ ที่มีกระแสน้ำไหล โดยอวนจะโดนถ่วงด้วยตะกั่ว และดึงให้ตั้งขึ้นโดยทุ่น ที่สำคัญอวนข้างตะกั่วจะจมลงไปแตะผิวดิน ซึ่งสัตว์น้ำเป้าหมายจะอยู่บริเวณนั้น
ส่วนอวนกุ้งในประเทศไทยนั้นจะมีตาปะทังไว้ด้วย เผื่อชะลอให้อวนขาดช้าลง
จากภาพด้านบน และงานวิจัยในประเทศ พบว่าการใช้งานของอวน ไม่เกี่ยวกับสภาพความลีกพื้นที่จับสัตว์น้ำ ดังนั้นอวนสามชั้นจึงทำความลึกมาเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว การเลือกใช้ ไม่ต้องคำนึงถังความลึกของอวน ใช้เลือกตามขนาดตาอวนชั้นในแต่เพียงอย่างเดียวครับ
เงื่อนตาอวน ที่มีการใช้กัน สำหรับทออวน ปกติจะมีใช้กัน ได้แก่
-เงื่อนหักคอชั้นเดียว (single Knot) เป็นเงื่อนส่วนใหญ่ในการทออวน ลักษณะเงื่อนเป็นดังรูป
-เงื่อนหักคอสองชั้น (Double Knot) เป็นเงื่อนที่เพิ่มความแน่ให้ตาอวนยิ่งขึ้น ส่วนมากจะให้กับการทออวนเอ็น
ส่วนการผูกอวนสามชั้น (อวนกุ้ง) จะใช้เงื่อนหักคอสองชั้น
จากที่ก่อนหน้านี้เราเริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มผึดมาสักระยะแล้ว และเมื่อมีปัญหาเรื่อง โควิด19 เป็นสาเหตุให้แต่ละประเทศต้องปิดล๊อกประเทศกันไปตามๆกัน เมื่อมีการปิดประเทศ การส่งออกกุ้งก็โดนผลกระทบไปด้วย ทำให้ปริมาณกุ้งในประเทศล้น ราคาจึงตกลง ถึงแม้ว่ากุ้งที่ประเทศไทยส่งออกจะเป็นกุ้งเลี้ยง แต่เนื่องจากกุ้งแต่ละชนิดจะเป็นสินค้าทดแทนกัน ทำให้กุ้งทะเลที่ชาวประมงจับ ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย
นอกจากการส่งออกไม่ได้แล้ว ความต้องการในประเทศก็ยังลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวลดลง และการระบาดในประเทศรุนแรงขึ้น จนต้องสั่งปิดห้าง ปิดร้านอาหาร และประชาชนไม่อยู่ในอารมณ์จับจ่ายใช้สอย ยิ่งเป็นผลให้ความต้องการลดต่ำลง จึงกระทบต่อราคากุ้ง
แต่เนื่องจากอาหารถือว่าเป็นสินค้าจำเป็น อีกทั้งการที่ราคาตกจึงทำให้การเลี้ยงกุ้งลดลงมาก และที่สำคัญการระบาดของ โควิด19 นี้ถึงแม้ว่าจะหนักหนาแค่ไหนก็ตาม อย่างไรเสีย ปัญหานี้ก็จะต้องแก้ไขได้ และเมื่อปัญหาจบ ความต้องการกุ้งก็จะกลับมาดีเช่นเดิม รวมทั้งปริมาณกุ้งเลี้ยงช่วงแรกจะกลับมาไม่ทัน จะทำให้ราคากุ้งกลับมาดีได้อย่างรวดเร็ว
ท้ายที่สุดนี้ ขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพ และผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ครับ
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในมหาสมุทรและการทำประมงมากเกินไป อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณสารโลหะพิษในสัตว์ทะเลเพิ่มขึ้น เช่น ปลาคอด ปลาทูน่า ปลาแซลมอน
ทีมนักวิจัยศึกษาข้อมูลระบบนิเวศในอ่าวเมน (Gulf of Maine) ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1970-2000 พบว่าในรอบ 30 ปี มีสารปรอทสะสมในปลาคอดและปลาฉลามหลังหนามเพิ่มขึ้น
เนื่องจากในบริเวณนั้นมีการทำประมงมากเกินขนาด ส่งผลให้ปลาทั้งสองชนิดต้องปรับเปลี่ยนวิถีการหาอาหารใหม่ โดยปลาคอดเปลี่ยนไปหาล็อบสเตอร์และปลาเล็กๆ เป็นอาหาร ส่วนปลาฉลามหลังหนามเปลี่ยนไปกินสัตว์ตระกูลหมึกที่มีสารปรอทสะสมสูงกว่า
คณะนักวิจัยพยายามใช้แบบโมเดลกับปลาทูน่าครีบน้ำเงินในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยหวังหาว่าเพราะเหตุใดปลาทูน่าครีบน้ำเงินจึงมีสารปรอทสะสมมากขึ้น ทั้งที่พวกมันไม่ได้ปรับเปลี่ยนชนิดของเหยื่อที่กิน ขณะที่สารปรอทในมหาสมุทรดังกล่าวก็มีปริมาณลดลงด้วย
ดร.อมินา ชาร์ตอัพ หนึ่งในทีมนักวิจัย ได้สัมภาษณ์ ไมเคิล เฟลป์ส นักกีฬาว่ายน้ำเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก ซึ่งเฟลป์สเผยว่าเขาบริโภคอาหารในแต่ละวันคิดเป็นพลังงานแคลอรีมากกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า ซึ่งทำให้ชาร์ตอัพตั้งสมมติฐานว่าอาจมีบางสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างเฟลป์สกับปลาทูน่า ซึ่งนำไปสู่คำอธิบายว่าทำไมปลาทูน่าจึงมีสารปรอทสะสมอยู่มาก
เมื่ออุณหภูมิในมหาสมุทรสูงขึ้นจะทำให้ปลาต้องว่ายมากขึ้น ดังนั้นพวกมันจึงต้องการพลังงานมากขึ้นในการว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหว ซึ่งผลคือปลาทูน่าก็จะต้องกินอาหารเพิ่มขึ้น นั่นจึงสามารถไขคำตอบได้ว่าเหตุใดปลาทูน่าจึงมีสารปรอทสะสมมากขึ้น
โดยในช่วงปี 2012-2017 พบว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินในอ่าวเมนมีระดับสารเมทิลเมอร์คิวรีหรือสารปรอทพิษเพิ่มขึ้น 3.5% ต่อปี ทั้งที่การปล่อยสารปรอทสู่ธรรมชาติลดลง
ทั้งนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าการเผาไหม้ถ่านหินในสหรัฐอเมริกาคือแหล่งปล่อยสารปรอทอันดับต้นๆ เพราะการเผาจะปล่อยสารปรอทสู่อากาศ ก่อนจะตกลงมาสู่พื้นดินและผิวน้ำ
รายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่าปัจจุบันมนุษย์บริโภคปลาเฉลี่ยอยู่ที่ 20.2 กิโลกรัมต่อคน เพิ่มขึ้นจากทศวรรษที่ 1960 ถึง 2 เท่า และ 1 ใน 3 ของพื้นที่มหาสมุทรบนโลกกำลังประสบปัญหาการจับปลามากเกินไป นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังรายงานว่าเด็ก 17 คนต่อ 1,000 คนจากชุมชนประมงในบราซิล แคนาดา จีน กรีนแลนด์ และโคลอมเบีย มีอาการบกพร่องทางจิตใจจากการบริโภคอาหารทะเลที่มีสารปรอทเจือปน