Categories
Main

อวนสามชั้น ตราม้า

อวนสามชั้น ปิยะวัฒน์ อวนกุ้ง อวนดักกุ้ง3ชั้น คุณภาพสูง

เราเป็นผู้จำหน่าย อวนกุ้ง อวน3ชั้น ตราม้า ซึ่งป็นอวนคุณภาพดี มีประสบการณ์ 40 ปี เป็นประกัน สามารถติดต่อ สอบถามได้ที่นี่

ทางเข้าร้านค้า คลิก

อวนกุ้ง หรือ อวนลอยกุ้ง หรือ อวนจมกุ้ง หรือ อวนสามชั้น เป็นชื่อเรียกที่หลากหลาย แต่โดยหลักแล้วคือ อวนชนิดเดียวกัน การใช้งานส่วนมากจะใช้ประมงน้ำเค็ม ชายฝั่งทะเล เป็นหลัก มีบ้างที่ไปใช้ในลำคลอง หรือในน้ำจืด

อวนสามชั้น นิยมเรียกว่าอวนกุ้ง หรืออวนลอยกุ้ง เป็นอวนประมงพื้นบ้าน อวนจะมีลักษณะเฉพาะตัว คือ เนื้ออวนมี3ชั้น ชั้นกลางจะตาถี่กว่า มีอีก 2ชั้นประกบเหมือนแซนวิช โดยเนื้ออวนที่ประกบจะตาห่างกว่า และเนื้ออวนชั้นตรงกลางจะมีความลึกมากกว่า อวนชั้นนอก ทำให้เมื่อเวลากระแสน้ำพัด จะทำให้อวนตาถี่มีลักษณะโป่งเป็นถุงเล็กๆตามตาอวนชั้นนอก ถืออวนเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพมาก

การใช้อวนสามชั้น นิยามนำไปจับกุ้ง บางพื้นที่จึง เรียกว่า อวนกุ้ง แต่สัตว์น้ำอื่นก็มีติดอวนบ้าง แม้แต่บางพื้นที่ นำไปใช้ในคลองน้ำจืด ก็สามารถใช้ได้ดี มีประสิทธิภาพ

ฝากกดไลค์เพจ Facebook ด้วยครับ

Categories
Main

การเย็บอวนสามชั้น

ลักษณะอวนสามชั้น จะเป็นอวนตาถี่อยู่ชั้นกลาง และ มีอวนตาห่างประกบอยู่ด้านนอก ดังนั้นการเย็บประกอบให้เป็นผืนเดียวกัน ก็จะใช้การเย็บรวบตามถี่กับตาห่างเข้าด้วยกัน เราจะเรียกว่าการเข้าสามชั้น โดยเย็บรวมตาถี่ ตาห่าง 1ตา แล้ว เว้นเย็บเฉพาะตาถี่ 4 ตา และสลับกลับมาเย็บรวมตาถี่ ตาห่าง 1ตา สลับ 4ตา 1ตา ไปเรื่อยๆจนครบทั้งผืน ดังภาพ

นอกจากนั้นจุดที่เราเย็บรวมตาถี่ กับตาห่าง เพื่อให้ตาอวนไม่เลื่อน เราต้องเย็บแบบเงื่อนคู่ หรือเย็บ2รอบนั่นเอง ดังภาพ

Categories
Main

ราคาอวนกุ้ง

เนื่องจากอวนกุ้ง เป็นอวนที่ใช้ในประมงพื้นบ้าน มีการใช้งานแผร่หลาย ทางร้านจึงไม่ได้ตั้งราคาสูงมาก ราคาขายได้บวกจากต้นทุนไว้ไม่สูง แต่เพราะตัวอวนกุ้งเอง ที่มีต้นทุน วัตถุดิบที่สูงเอง อีกทั้งสาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ ค่าแรงในการประกอบ ในแต่ละผืนต้องใช้แรงงานผีมือในการประกอบ และต้องในเวลามากกว่า 8ชั่วโมง ต่อการประกอบ1ผืน

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ ราคาอวนกุ้งจะแพง เมื่อเทียบกับอวนชนิดอื่น ใน ทั้งนี้เป็นเหตุผลที่ต้องการให้ชาวประมงเข้าใจด้วยครับ

Categories
Main

อวนกุ้งในประเทศไทย

อวนกุ้ง ที่ใช้ในประเทศไทย สมัยก่อนย้อนหลังไปประมาณ30ปี จะใช้ตานอก เป็นตาขนาด 25ซม หรือ 10นิ้ว ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้ในอวนชนิดอื่นอยู่บ้าง แต่อวนกุ้งจะเปลี่ยนไปใช้ ตานอก ขนาดตา 14ซม. แทน เนื่องจากเวลาใช้งานแล้ว ตานอกจะทำหน้าทีเป็นกำแพง ทำให้เกิดเป็นถุง ซึ่งถ้าใช้ตานอก 14ซม จะเหมาะกับการจับกุ้งมากกว่า ตานอก 25ซม อีกทั้งเมื่อตาเล็กลงก็ได้จำนวนตาที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้มีโอกาสจับกุ้งได้มากขึ้น

นอกจากเรื่องขนาดตานอก ที่มีการปรับปรุงพัฒนาแล้ว ตาใน ซึ่งขนาดตาเล็กกว่า ตาลึกมากกว่า เพื่อให้เนื้อหย่อน ยังมีการเปลี่ยนมาใช้ ขนาดด้ายให้เส้นเล็กลง จากขนาด 210D/2 มาเป็น 110D/2 ซึ่งขนาดก็เล็กลงมามากทีเดียว ทั้งนี้พบว่า ขนาดตาในซึ่งเล็กกว่านั้น ทำให้ติดกุ้งได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต่อๆมาความนิยมในเส้นด้ายเล็ก ก็สูงมากจน ตาในเส้นใหญ่เลิกใช้ไปในสุด

Categories
Main

อวนสามชั้นกับงานวิจัย

อวนสามชั้นในประเทศไทย มีการใช้งานมานานมากกว่า 50 ปีแล้ว ทั้งยังกระจายการใช้งานไปในหลายพื้นที่ แทบทุกจังหวัดที่ติดทะเล และจากอวนประมงที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาแพง มีการใช้งานต่อเนื่อง

การอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ผลิดอวนสามชั้น ทั้งนี้เราได้นำงานวิจัยบางงานมาเขียนเป็นบทความ สรุปให้อ่านงาน เพื่อประโยชน์ของผู้สนใจ โดยงานวิจัยนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความลึกของอวนสามชั้น

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทดลองลดระดับความสูงของอวนสามชั้น เนื่องจากพบว่าส่วนด้านบนของอวนจะติดสัตว์น้ำอื่น ซึ่งไม่ใช่กุ้ง สัตว์น้ำเป้าหมาย
แต่ผลการวิจัยพบว่าการลดระดับสูงลง1ใน3 พบว่า การติดกุ้งและสัตว์น้ำลดลงไปด้วย ดังรูป
ดังนั้นระดับความสูง(ความลึก)ของอวนสามชั้นที่ใช้อยู่ในประเทศไทยถือว่าเหมาะสมดีอยู่แล้วครับ

Categories
Main

ความยาวอวนสามชั้น อวนกุ้ง

อวนกุ้ง อวนสามชั้น ในประเทศไทย ใช้ความยาวมาตรฐาน คือ 1510ตาถี่ (ขนาด 4.2ซม.ยาวประมาณ 63 เมตร ใช้งานจริงใส่ทุ่นและตะกั่ว แล้วจะยาวประมาณ26เมตร) เพราะอวนสามชั้น เมื่อใช้งานต้องให้อวนหย่อน เวลามาดเชือกติดไป เชือกจึงจะตึงก่อนอวน ส่วนแต่ละพื้นที่ต้องการยาวเท่าไหร่ก็ใช้จำนวนอวนเท่านั้น ส่วนมากที่พบเจอ จะใช้ประมาณ 10ผืน

ข้อสังเกต บางร้านต้องการให้ลดต้นทุน อาจจะใช้ความยาวแค่ 1435ตาถี่ (สั้นกว่า5%) แต่อวนของเราใช้ความยาวมาตรฐาน 1510 ครับ 😄

ดังนั้น อวนของเรา ไม่ได้แพง เมื่อคำนึงถึง ความยาว และความคุ้มค่า

Categories
Main

การเลือกความลึก

อวนกุ้ง หรือ อวน3ชั้น ที่ใช้ในประเทศไทย ความลึกอยู่ที่ประมาณ 1.60 เมตร โดยที่ใช้อวนตาห่างที่มาตรฐาน 14ซม ลึก10 ถึง 11.5ตา ขึ้นกับขนาดตาถี่ และจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พบว่าความลึกของอวนกุ้ง ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำ ที่ระดับความลึกของน้ำต่างๆกันดังนั้นการเลือกขนาดอวน ไม่ต้องคำนึงถึงความลึกของทะเล แต่ให้คำนึงถึงชนิดและขนาดของกุ้งในพื้นที่เป็นสำคัญ

อวนกุ้ง ตราม้า

Categories
Main

ตาปะทัง

อวนสามชั้น อวนกุ้ง มีใช้ในหลายประเทศ ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น หรือเอเซียใต้ แต่ในหลายๆประเทศ จะไม่มีตาปะทัง เหมือนอย่างของไทยที่ใช้กันอยู่ เนื่องจากเป็นการประหยัดค่าแรง ด้านบนก็จะใส่ทุ่น ด้านล่างก็ยังใส่ตะกั่วไปเลยดังภาพ
ส่วนประโยชน์ของตาปะทัง ก็เพื่อความทนทานเป็นการปะทังให้อวนขาดช้าลง โดยรวมๆแล้วถือว่าอวนสามชั้นของไทยคุณภาพดีกว่าครับ

ส่วนขนาดตะปะทังก็จะใช้ขนาด ประมาณ 6- 7.5ซม แล้วที่พื้นที่ ถ้าเล็กไปก็จะติดเศษขยะได้ง่าย ถ้าใหญ่ไปอาจจะกังวลเรื่อง กุ้งรอดไปได้ครับ

Categories
Main

ขนาดเส้นด้ายของ อวนกุ้ง

อวนสามชั้น (Trammel net) ขนาดเส้นด้ายที่ใช้งาน จะมีหน่วยเป็น ดีเนียร์ ตัวย่อคือ “D” หมายถึง น้ำหนักเป็นกรัม ของเส้นด้ายยาว 9,000เมตร
เช่น 110D หมายถึงเส้นด้ายขนาดที่ยาว 9,000เมตรแล้ว หนัก 110กรัม ดังนั้นยิ่งเลขเยอะด้ายยิ่งขนาดใหญ่
ปกติขนาดที่ใช้ในอวนกุ้ง จะเป็น 110/2 หมายถึง 110D 2เส้นมาตีเป็นเกลียว
เมื่อ30ปีก่อน อวนกุ้งมีใช้ขนาด210/2 เผื่อความทนทาน แต่ปัจจุบันใช้แต่ 110/2 เส้นเล็ก เพราะติดกุ้งได้มากกว่าครับ

ส่วนตานอก จะใช้ขนาด 210D/4 ซึ่งเส้นจะใหญ่กว่าตาในพอสมควรเลยครับ

Categories
Main

อวนสามชั้น Trammel Net

อวนสามชั้น นิยมเรียกว่าอวนกุ้ง หรืออวนลอยกุ้ง เป็นอวนประมงพื้นบ้าน อวนจะมีลักษณะเฉพาะตัว คือ เนื้ออวนมี3ชั้น ชั้นกลางจะตาถี่กว่า มีอีก 2ชั้นประกบเหมือนแซนวิช โดยเนื้ออวนที่ประกบจะตาห่างกว่า และเนื้ออวนชั้นตรงกลางจะมีความลึกมากกว่า อวนชั้นนอก ทำให้เมื่อเวลากระแสน้ำพัด จะทำให้อวนตาถี่มีลักษณะโป่งเป็นถุงเล็กๆตามตาอวนชั้นนอก ถือว่าเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพมาก
ขนาดตาอวนที่นิยมใช้ ขึ้นอยู่กับขนาดสัตว์น้ำ มีตั้งแต่ 3.8ซม.,4.0ซม.,4.2ซม.,4.5ซม.
ส่วนเนื้ออวนชั้นกลาง นิยมให้เป็น อวนเอ็นขนาด 0.15 มม. หรือไม่ก็ อวนไนล่อน 110D/2 สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นพวกกุ้ง ได้แก่ กุ้งแชบ๊วย กุ้งโอคัก กุ้งแสม กุ้งไข่หลัง กุ้งเหลือง นอกจากนี้เป็นพวกปลาทู ปลาจวด ปลาทรายแดง ปลาเห็ดโคน ปลาแข็งไก่


Notice: Undefined index: pages in /var/www/vhosts/trammelnet.com/httpdocs/wp-content/plugins/facebook-messenger-customer-chat/facebook-messenger-customer-chat.php on line 181